วันจันทร์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

มิโนะรุ ชิโรตะ เจ้าแห่งยาคูลท์



รู้ไหมว่ายาคูลท์กับคนไทยผูกพันกันมานานกว่า 45 ปี เป็นความโด่งดัง คงทน และเป็นต้นแบบของความสำเร็จ ของนมเปรี้ยวต่างๆ  จะมีซักกี่คนที่รู้ว่าใครเป็นบุคคลที่คิดผลิตยาคูลท์ขึ้นมาเป็นคนแรกของโลก 


บุคคลนั้นมีนามว่า มิโนะรุ ชิโรตะ
        เรากลับมาเรื่องประวัติของคุณ มิโนะรุ ชิโรตะ กันดีกว่า เริ่มเลย 
          มิโนะรุ ชิโรตะ เป็นเด็กชายที่เกิดในหมู่บ้านอินาดานิ อีดะ จังหวัด นางาโน่    ในวันที่ 23 เมษายน ค.ศ.1899
ที่บ้านของชิโรตะ เป็นครอบครัวฐานะดี มีอาชีพเลี้ยงไหม และเป็นโรงงานทำกระดาษ เขาเรียนที่โรงเรียนริวโอดะ มีความเด่งทางคณิตศาสตร์นับแต่วัยเยาว์ แต่อ่อนด้านภาษา คุณครูฟุคุติ ช่วยดูแลจัดการ จนเขากลายเป็นเด็กนักที่มีผลการเรียนดีมาก
          ในปี ค.ศ. 1918 ชิโรตะจบการศึกษาจากโรงเรียนอีดะ ขณะนั้นอายุ 18 ปี  สอบเข้าศึกษาต่อในสาขาวิชาแพทย์ ตามที่พ่อต้องการที่มหาวิทยาลัยโทโฮคุ
          ยามว่างเขาชอบดูภาพยนตร์ เขาสนใจใฝ่รู้ในศาสตร์ด้านภาพยนตร์มาก  จนเคยอยากเป็นผู้ำอำนวยการสร้างภาพยนตร์มากกว่าเป็นหมอ แต่เขาก็ไม่ได้เปลี่ยนความตั้งใจเดิม
          ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ญี่ปุ่นเต็มไปด้วยความวุ่นวายชิโรตะอพยพย้ายบ้านไปอยู่ที่เกียวโต
          ค.ศ. 1921 เขาศึกษาต่อแพทย์เฉพาะทางในสาขาจุลชีววิทยาทางการแพทย์  ณ มหาวิทยาลัยเกียวโตเทโคคุ เขาสนใจเชื้อจุลชีพก่อโรคบิดและโรคท้องร่วงในเด็กมากเป็นพิเศษ จากนั้นเขาทุ่มเท ค้นคว้ากับจุลชีพกรดนมอย่างเต็มที่ จุลชีพในกลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่ทำให้ลำไส้ของมนุษย์สามสรถต้านโรคจากจุลชีพชนิอื่นๆได้ แนวคิดของ      ชิโรตะ คือ การคัดสายพันธุ์ เอาจุลชีพดีเพาะเลี้ยงให้แข็งแรงและผลิตเป็นเครื่องดื่ม  สำหรับให้ประชาชนพลเมืองดื่ม เพื่อให้สุขภาพร่างกายแข็งแรงตลอดเวลา
          ค.ศ. 1929 ชิโรตะได้แต่งงานกับโยชิเอะ ต่างตกลงใช้ชีวิตร่วมกันที่ ตำบล   คามิเกียว จังหวัดโตเกียว    
ในปี ค.ศ. 1930 – 1935 ชิโรตะสามารถจัดจำแนกแยกจุลชีพ โดยเฉพาะกลุ่มแบคทีเรียจากลำไส้มนุษย์ได้จำนวนมากถึง 300 สายพันธุ์ เป้าหมายสำคัญของ   ชิโรตะ คือ การจำแนกแบคทีเรียนที่สามารถอยู่รอดจากการเคลื่อนผ่านน้ำย่อยในช่องท้องได้ โดยที่ต้องไปถึงลำไส้เล็กอย่าปลอดภัย
          ในปี ค.ศ.1935 ชิโรตะประสบความสำเร็จในการคัดแยกจุลชีพสายพันธุ์ใหม่ที่มีความแข็งแรง และเจริญได้ดีในลำไส้เล็ก ช่วยในระบบการย่อยของมนุษย์ โดยตั้งชื่อว่า แลคโตบาซฺลลัส คาเซ ชิโระตะ และในปีเดียวกัน ถือได้ว่าเป็นปีทองของ    ชิโรตะ เพราะเขาถือโอกาสจัดตั้ง สถาบันชิโรตะ ขึ้น ณ ตำบลโรนิน  จังหวัดฟูกูโอกะ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นและผลิตยาคูลท์จำหน่ายทั่วญี่ปุ่น แต่ก็ยังไม่เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายมากมายนัก
          ในปี ค.ศ.1938 – ค.ศ. 1939 ชีวิตของชิโรตะต้องเข้าไปวุ่นวายกับสงครามในฐานะแพทย์ทหาร เขาระหกระเหินเร่ร่อนอยู่ระหว่างญี่ปุ่น กับ จีน ต้องพลัดพรากจากครอบครัว กระทั่งปลายปี ค.ศ.1939 เขากลับมาที่ญี่ปุ่นอย่างเงียบๆ พร้อมกับถือโอกาสฟื้นฟูสถาบันของเขาขึ้นมาใหม่ ประกอบกับสถานภาพของญี่ปุ่นตกอยู่ในความลำบากและวุ่นวาย ประชาชนทั่วไปอดอยากหิวโหยอย่างหนัก เกิดภาวะข้าวยากหมากแพงทั่วประเทศ
          นั่นเอง... ทำให้ชิโรตะผลิตยาคูลท์ออกจำหน่ายในราคาถูก แม้จะขาดทุกก็ตาม เขาหวังเพียงให้ประชาชนญี่ปุ่นมีสุขภาพแข็งแรง ยาคูลท์นี้ล้มๆ ลุกๆ เช่นเดียวกับ สภาวะสงครามทั่วโลก
          ในปี ค.ศ. 1950 – 1955  ความพยายามอย่างอุตสาหะของชิโรตะ ก็ได้จัดจำหน่ายยาคูลท์ไปทั่วญี่ปุ่นอย่างรวดเร็ว ชิโรตะจึงได้ย้ายสำนักงานใหญ่ไปอยู่    ณ กรุงโตเกียว โดยจัดตั้งเป็นบริษัท ยาคูลท์ พร้อมกับควบคุมการจัดจำหน่ายอย่างทั่วถึงทั้งในญี่ปุ่นและต่างประเทศ
ในปี ค.ศ. 1969 เขาได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นที่ 4 จากสมเด็จองค์พระจักรพรรดิ
จนกระทั่งในวันที่ 10 มีนาคม ค.ศ 1982 เขาได้เสียชีวิตลง เขาเป็นทั้งนักวิทยาศาสตร์ นายแพทย์ นักธุรกิจ ที่เปี่ยมไปด้วยคุณธรรรมจริงๆ

ขอขอบคุณ  ข้อมูลจากหนังสือ


     100 นักวิทย์ฯ โลกไม่ลืม (เล่ม 1)
ยังมีข้อมูลของนักวิทย์ฯ อีกมากมายลองไปหาอ่านได้นะครับ ^ ^   By.... FAFASoul